Maturity Model
ประเทศไทยมีการนำกลไกของหน่วยบ่มเพาะธุรกิจ (Business Incubator) และอุทยานวิทยาศาสตร์ (Science Park) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในระบนิเวศนวัตกรรม (Innovation Ecosystem) หากแต่ยังไม่มีการศึกษารูปแบบและกระบวนการบริหารจัดการหน่วยบ่มเพาะธุรกิจและอุทยานวิทยาศาสตร์อย่างจริงจัง เพื่อพัฒนาให้เกิดเป็นโมเดลการดำเนินงาน (Operating Model) ที่จะช่วยสร้างและบ่งชี้องค์ประกอบที่สำคัญของการพัฒนาหน่วยบ่มเพาะธุรกิจและอุทยานวิทยาศาสตร์ที่ประสบความสำเร็จในการสร้างผู้ประกอบการและ/หรือธุรกิจนวัตกรรม ขณะเดียวกันยังสามารถส่งเสริมให้เกิดการเชื่อมโยงการบ่มเพาะธุรกิจและอุทยานวิทยาศาสตร์เข้าไปในระบบนิเวศน์นวัตกรรมของประเทศได้อย่างสมบูรณ์
โมเดลการประเมินระดับวุฒิภาวะ (Maturity Model) ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการประเมินศักภาพและความพร้อมของหน่วยบ่มเพาะธุรกิจและอุทยานวิทยาศาสตร์ โดยกำหนด “ระดับขีดความสามารถของหน่วยบ่มเพาะธุรกิจ” ตามระดับศักยภาพ 5 ระดับ
รูปที่ 1 ระดับขีดความสามารถของหน่วยบ่มเพาะธุรกิจ
การพัฒนาขีดความสามารถของหน่วยบ่มเพาะธุรกิจและอุทยานวิทยาศาสตร์ จึงกำหนดมิติ (Dimensions) ในการประเมินขีดความสามารถขององค์กรออกเป็น 7 ด้าน ได้แก่ กลยุทธ์องค์กร (Strategy and Organizational Structure) สถานะทางการเงิน (Finance) องค์ความรู้ (Knowledge Body) การพัฒนาบุคลากร (Human Resource Development) เครือข่าย (Network) การบริการ (Services) โครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) พร้อมกับองค์ประกอบ (Elements) ที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ในการประเมินระดับขีดความสามารถ
หน่วยบ่มเพาะธุรกิจ อุทยานวิทยาศาสตร์ หรือตลอดจนองค์กรที่สนใจในการพัฒนาศักยภาพเพื่อยกระดับขีดความสามารถขององค์กร สามารถติดตามกิจกรรมดีๆ ในการพัฒนาองค์ความรู้ พัฒนาบุคลกร รวมไปถึงการสร้างเครือข่ายทั้งในและต่างประเทศ ของสมาคมหน่วยบ่มเพาะ
ผู้ประกอบการและอุทยานวิทยาศาสตร์ไทย ที่จะส่งเสริมการพัฒนาในระดับองค์กร สามารถส่งต่อไปยังระบบนิเวศนวัตกรรมในระดับประเทศได้